วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551

Take Home Exam อาจารย์กัลยาและอาจารย์พิมพ์ใจ

สัญญา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ สัญญาหมายถึง ความตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายว่าจะกระทำ หรือละเว้นการใดอย่างหนึ่ง ,ข้อตกลง,คำมั่น,ความตกลงกัน

ท่าน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช สัญญาหมายถึง ความตกลงที่ก่อให้เกิดหนี้ สาระสำคัญของสัญญามี ๒ ประการคือ ความตกลง (Agreement) และ หนี้ (Obligation) สาระสำคัญทั้งสองประการนี้ต้องอยู่ประกอบกัน จึงเกิดสัญญาขึ้นเป็นสัญญา

กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สัญญาหมายถึง ความยินยอมทั้งสองฝ่าย ฤามากกว่า ๒ ฝ่าย ในการจำทำ ฤาละเว้นทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ สัญญาหมายถึง สัญญาจะเกิดได้ต้องมีการแสดงเจตนาของบุคคลสองฝ่าย ซึ่งมีเนื้อหาถูกต้องตรงกัน คือ ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำเสนอถูกต้องตรงกับคำเสนอนั้น สัญญาจึงเกิด (ดังนั้นสัญญาจึงเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่นิติกรรมไม่จำป็นต้องเป็นสัญญาเสมอไป)
ศาสตราจารย์จี๊ด เศรษฐบุตร สัญญาหมายถึงนิติกรรมหลายฝ่าย เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ดังนั้นสัญญาจึงเป็นนิติกรรมประเภทหนึ่ง แต่เป็นประเภทที่สำคัญ เพราะก่อหนี้มากกว่านิติกรรมประเภทที่เรียกว่า นิติกรรมฝ่ายเดียว

ความสัมพันธ์ต่าง ๆ จะอยู่ในรูปของแบบของ นิติกรรม คือ เรื่องสัญญาและนิติเหตุ คือ เรื่องของละเมิด สุดท้ายผลของกฎหมาย คือ เรื่องของทรัพย์
สัญญาทางแพ่ง ตามกฎหมายแพ่ง (Civil Law) ประกอบด้วย

๑.การเกิดสิทธิ การเกิดโดยสองประเภท กล่าวคือ โดยกฎหมาย คือ ทรัพยสิทธิ และโดยนิติกรรม คือ บุคคลสิทธิ
๒.การได้มาซึ่งสิทธิ การได้มาซึ่งสิทธิมีสามประเภท กล่าวคือการได้มาซึ่งสิทธิโดยนิติกรรม เช่น การหมั้น การสมรส การเช่า การเช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ ซื้อขาย แลกเปลี่ย ให้ และการได้สิทธิโดยนิติเหตุ เช่น ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ สุดท้ายการได้สิทธิมาโดยผลของกฎหมาย เช่น บุตร สามี ภริยา (สถานะ) กรรมสิทธิ์ ส่วนควบ มรดก ครอบครองปรปักษ์

สัญญาทางพาณิชย์ เป็นเรื่องของกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน กล่าวถึง สถานะบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย และ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิทางแพ่ง รวมถึงเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าประชาชนด้,วยกันเอง เช่น เอกเทศสัญญาต่าง ๆ (กฎหมายพาณิชย์ บรรพ ๓)

กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างบุคคล บุคคลธรรมดา นิติบุคคล อย่างเช่นกฎหมายไทยในบรรพ ๓ หลักความสัมพันธ์นี้หวังผลกำไร
สัญญาทางธุรกิจ การแสวงหากำไร การพาณชย์ (Commercial) การอุตสาหกรรม (Industrial) การเกษตร ปศุสัตว์ การบริการ(Service)
แนวคิดทฤษฎีในการทำสัญญา มีอยู่ด้วยกัน ๒ ปรัชญญา กล่าวคือ
ปรัชญญากฎหมายเอกชน คือ เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามย่อมทำได้ สำหรับอีกปรัชญญาหนึ่งนั้นเป็นปรัชญากฎหมายแพ่งสากล ไม่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน หลักนี้ปรากฏอยู่ในคำประกาศสิทธิมนุษยชน และพลเมืองฝรั่งเศล มาตรา ๕ “กฎหมายมีสิทธิห้ามการกระทำก็แต่เฉพาะที่เป็นการกระทำให้สังคมเดือดร้อน สิ่งที่กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ย่อมทำได้และบุคคลไม่อาจถูกบังคับให้กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้สั่งให้ กระทำ” ดังนั้นหลักกฎหมายเอกชน ปัเจกชนก่อนิติสัมพันธ์กันอย่างไรก็ได้ เว้นแต่จะขัดกับกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ได้
ทฤษฏีเกี่ยวกับความศักดิ์ของเจตนา คือ ถือเอาเจตนาภายในที่เกิดและผลของสัญญาขึ้นอยู่กับเจตนาที่คู่สัญญามีอยู่โดยแท้จริงภายใน
ทฤษฏีเกี่ยวกับเสรีภาพในการทำสัญญา คือบุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการทำสัญญาโดยปราศจากการถูกข่มขู่ บังคับ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หลักเกณฑ์ความสมบูรณ์ของสัญญา ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของความสมบูรณ์ของสัญญา ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ เจตนา และ แบบของสัญญา สำหรับเรื่องของความสามรถนั้น เรื่องของคนหย่อนความสามารถ หมายถึง ผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนไร้ความสามารถเช่น คนปัญญาอ่อน คนวิกลจริต

ตามหลักเกณฑ์ของความสมบูรณ์ของสัญญาไทย ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ การแสดงเจตนา(ความยินยอม) และแบบ
หลักเกณฑ์ที่สำคัญของสัญญา ตามกฎหมายไทย ฝรั่งเศล อังกฤษ ประกอบด้วย ความตกลงยินยอมของคู่สัญญา ความสามารถในการทำสัญญา วัตถุประสงค์ที่แน่นอนอันเป็นสาระสำคัญของสัญญา และการแสดงเจตนาเข้าผูกพันทำสัญญาที่ถูกต้อง
ผลบังคับตามสัญญา การใช้ การตีความ การอุดช่องว่าง สำหรับการใช้กฎหมายของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) ในการใช้การตีความกฎหมายแม้จะเป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) ก็มิใช่ว่าจะยึดติดแต่ตัวอักษรแต่ดูไม่ถึงเจตนาของกฎหมาย ทำให้ผลในบางครั้งไม่เป็นการแก้ปัญหาสังคม

ความเหมือนสัญญาทางแพ่ง ทางพาณิชย์ ทางธุระกิจ คือก็เป็นเรื่องของการแสวงหากำไรเช่นเดียวกัน สำหรับความแตกต่างกันสัญญาทางแพ่ง ทางพาณิชย์ ทางธุระกิจ การจะดูว่าเป็นแพ่งหรือพาณิชย์ สังเกต จากกำหนดความแตกต่างโดยรูปแบบของสัญญา เช่น สัญญาคู่,รูปแบบของกิจการ (ควบคุมโดยการจดทะเบียน) และดูวัตถุประสงค์ของคูสัญญาในการทำสัญญา (ดูจากพฤติกรรมของผู้ทำสัญญาเป็นสำคัญ) อย่างไรก็ตามของไทยเรายังไม่มีกรอบจากบทบัญญัติของกฎหมายที่ชัดเจน คงดูเป็นเรื่องๆ
ข้อ ๒. นายไก่อายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทยโดยการสมรส
ข้อ ๒.๑.ทำสัญญาซื้อที่ดิน ๑ แปลง จากนายไข่ในราคา ๑๐๐ ล้านบาท
ตามหลักเกณฑ์ที่สำคัญตามกฎหมายไทย ฝรั่งเศล อังกฤษ ประกอบด้วย ๑).ความตกลงยินยอมของคู่สัญญา ๒).ความสามารถในการทำสัญญา (Capacity) ๓).วัตถุประสงค์ที่แน่นอนอันเป็นสาระสำคัญของสัญญา ๔).การแสดงเจตนาเข้าผูกพันทำสัญญาที่ถูกต้อง
ตามหลักเกณฑ์ที่สำคัญตามกฎหมายไทย ข้างต้นได้วางหลักไว้ กรณีตามปัญหาเรื่องนายไก่นั้น แม้จะมีอายุเพียง ๑๗ ปีบริบูรณ์ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าได้สมรสแล้วฉะนั้นย่อมบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทยโดยการสมรส ดังนั้นการทำสัญญาซื้อที่ดิน ๑ แปลง จากนายไข่ในราคา ๑๐๐ ล้านบาท เกิดขึ้นด้วยความตกลงยินยอมของคู่สัญญา และนายไก่ก็มีความสามารถในการทำสัญญา (Capacity) นอกจากนี้วัตถุประสงค์ที่แน่นอนอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาในเรื่องของการซื้อที่ดินสุดท้าย การแสดงเจตนาเข้าผูกพันทำสัญญาที่ถูกต้อง
ฉะนั้นดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น ผลของการทำสัญญาซื้อที่ดิน ๑ แปลง จากนายไข่ในราคา ๑๐๐ ล้านบาท ย่อมสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่สำคัญตามกฎหมายไทย

ข้อ ๒.๒. ทำสัญญากับนางสาวบุญส่ง ให้ตั้งครรภ์แทนภริยาตน(เด็กหลอดแก้ว)
ตามหลักเกณฑ์ที่สำคัญตามกฎหมายไทย ได้วางหลักไว้ในข้อ ๒.๑. ข้างต้น กรณีตามปัญหาเรื่องการทำสัญญากับนางสาวบุญส่ง ให้ตั้งครรภ์แทนภริยาของตนนั้น นายไก่ บรรลุนิติภาวะจึงมีความสามารถในการทำสัญญาซึ่งสัญญาได้เกิดด้วยความตกลงยินยอมของคู่สัญญาและการแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาที่ถูกต้อง แต่เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าวัตถุประสงค์ในการทำสัญญาเรื่องการตั้งครรภ์แทนภริยาตน(เด็กหลอดแก้ว) อันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาว่าด้วยหลักเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา ๑๕๐)
ฉะนั้นดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น การทำสัญญากับนางสาวบุญส่ง ให้ตั้งครรภ์แทนภริยาตน(เด็กหลอดแก้ว) จึงตกเป็นโมฆะ
ข้อ ๒.๓.ถ้าการขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นการติดต่อกันทางจดหมาย และนายไก่อายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ เมื่อนายไก่ได้ส่งจดหมายตกลงซื้อให้แก่นายไข่ไปทางไปรษณีย์แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่จะเกิดขึ้นเมื่อใดตามหลักกฎหมาย
ทฤษฏีเกี่ยวกับความศักดิ์ของเจตนา คือ ถือเอาเจตนาภายในที่เกิดและผลของสัญญาขึ้นอยู่กับเจตนาที่คู่สัญญามีอยู่โดยแท้จริงภายใน
ทฤษฏีเกี่ยวกับเสรีภาพในการทำสัญญา คือบุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการทำสัญญาโดยปราศจากการถูกข่มขู่ บังคับ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หลักเกณฑ์ความสมบูรณ์ของสัญญา ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของความสมบูรณ์ของสัญญา ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ เจตนา และ แบบของสัญญา สำหรับเรื่องของความสามรถนั้น เรื่องของคนหย่อนความสามารถ หมายถึง ผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนไร้ความสามารถเช่น คนปัญญาอ่อน คนวิกลจริต

ตามหลักเกณฑ์ของความสมบูรณ์ของสัญญาไทย ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ การแสดงเจตนา(ความยินยอม) และแบบ
กรณีตามหลักกฎหมายไทย ว่าด้วยลักเกณฑ์ของความสมบูรณ์ของสัญญาไทย ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ การแสดงเจตนา(ความยินยอม) และแบบสัญญาย่อมสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่านายไก่ได้ส่งจดหมายตกลงซื้อขายไปยังนายไข่เพื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินทางไปรษณีย์ ดังนั้นเมื่อสัญญาซึ่งนายไข่ย่อมเป็นการเสนอขึ้นและเมื่อใดที่นายไข่ได้ตอบตกลงและได้ส่งจดหมายตอบตกลงทางไปรษณีย์กลับมาที่นายไก่ ก็เป็นการตกลงทำสัญญา แม้นายไก่ยังไม่ได้อ่านคำสนองกลับมาแต่อย่างไรก็ถือได้ว่าสัญญาได้เกิดขึ้นอันเป็นสัญญาห่างกันโดยระยะทาง

กรณีตาม หลักกฎหมายอังกฤษ ฝรั่งเศล และเยอรมัน ว่าด้วยลักเกณฑ์ของความสมบูรณ์ของสัญญาทั่วไป ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ การแสดงเจตนา(ความยินยอม) และแบบสัญญาย่อมสมบูรณ์ ความสามารถเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายไก่ ซึ่งได้ส่งจดหมายตกลงซื้อขายไปยังนายไข่เพื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินทางไปรษณีย์ ดังนั้นเมื่อสัญญาซึ่งนายไข่ย่อมเป็นการเสนอขึ้นและเมื่อใดที่นายไข่ได้ตอบตกลงและได้ส่งจดหมายตอบตกลงทางไปรษณีย์กลับมาที่นายไก่ ก็เป็นการตกลงทำสัญญา แม้นายไก่ยังไม่ได้อ่านคำสนองกลับมาแต่อย่างไรก็ถือได้ว่าสัญญาได้เกิดขึ้นอันเป็นสัญญาห่างกันโดยระยะทาง
ฉะนั้นดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นการขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นการติดต่อกันทางจดหมาย และนายไก่อายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ เมื่อนายไก่ได้ส่งจดหมายตกลงซื้อให้แก่นายไข่ไปทางไปรษณีย์แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่จะเกิดขึ้นเมื่อใดตามหลักกฎหมายหลักกฎหมายอังกฤษ ฝรั่งเศล และเยอรมัน เกิดขึ้นตั้งแต่นายไข่ได้แสดงเจตนาในการทำสัญญาแล้วหลักทฤษฏีเกี่ยวกับความศักดิ์ของเจตนา และทฤษฏีเกี่ยวกับเสรีภาพในการทำสัญญา

เรียบเรียงโดย
นางสาวอาทิตยา วชิรบูรณ์สุข
เลขประตัวนักศึกษา๕๐๒๔๐๑๓๘๒๙

1 ความคิดเห็น:

Nok Arditya กล่าวว่า...

interesting krap