วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551

แนวคำตอบข้อสอบหลักกฏหมายแพ่ง รศ.ดร.กัลยา ตัณศิริ

แนวคำตอบข้อสอบหลักกฏหมายแพ่ง รศ.ดร.กัลยา ตัณศิริ

คำถาม จงอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดในการเข้าแทรกแซงของรัฐในการถือครองที่ดิน เกี่ยวกับ หลักเกณฑ์ที่สำคัญตามมาตรการสากลของกรรมสิทธิ์ (Ownership) และตามหลักกฎหมายแพ่ง ว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง ในส่วนกฎหมายแพ่งให้วิเคราะห์ตามหลักกฎหมายแพ่งของไทย มาตรา 1336

แนวคำตอบ
โดยปกติแล้ว กรรมสิทธิ์เป็นสิทธิในทรัพย์สินที่ย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเอกชน เอกชนสามารถกระทำการใดๆ ได้ทุกอย่างที่กฎหมายให้อำนาจ รัฐจะต้องไม่เข้าไปแทรกแซง แต่ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 41 กลับให้รัฐเข้าไปแทรกแซงจำกัดสิทธิได้ตามที่กฎหมายบัญญัติและมาตรา 42 ก็กำหนดให้รัฐเข้าไปแทรกแซงโดยการเวนคืนได้ แต่ก็จะต้องเพื่อประโยชน์สาธารณะ ( Public interest ) ที่จำเป็น โดยกำหนดเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายเอกชนโดยทั่วไป

ประโยชน์สาธารณะเป็นวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการของรัฐ เป็นไปเพื่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์สาธารณะนั้นก็คือประโยชน์ส่วนรวม ถ้าเป็นความต้องการของคนหนึ่งคน หรือส่วนน้อยก็ย่อมไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ หรือหากเป็นความต้องการของรัฐ ก็ย่อมไม่เป็นประโยชน์สาธารณะเช่นกัน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองเป็นหลักโดยทั่วไป โดยเฉพาะในเรื่องกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นที่รวมไว้ของสิทธิต่างๆ ในทรัพย์สิน ต้องได้รับความคุ้มครองเสมอตามหลักสากลทั่วไป
1. แนวคิดทฤษฎีมาตรการสากลของกรรมสิทธิ์

สิทธิในทรัพย์สินนี้เป็นแนวคิดทฤษฎีว่าเป็นสิทธิโดยธรรมชาติ เช่น เราไปจับปลามาได้เราก็คิดว่าเรามีสิทธิที่จะกิน หมายความว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์
ปฏิญญาแห่งสิทธิมนุษยชน

มาตรา 2 “กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นสิทธิของมนุษย์”

มาตรา 17 “กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นสิทธิอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะละเมิดมิได้ การละเมิดกรรมสิทธิ์จะกระทำมิได้ เว้นแต่ เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ ตามที่กำหนดในกฎหมายและได้ชดใช้ทำขวัญตามสมควรเสียก่อนแล้ว”
หลักตามปฏิญญาแห่งสิทธิมนุษยชน สิทธิอาจถูกจำกัดได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่กฎหมายกำหนดและต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียกรรมสิทธิ์ตามสมควร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

มาตรา 29 บัญญัติว่า “การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้”
มาตรา41 บัญญัติว่า “สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”

จะเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งเป็นที่รวมของสิทธิต่าง ๆ ถึงแม้จะได้รับการรับรอง คุ้มครองไว้ตามรัฐธรรมนูญก็ตาม ก็อาจถูกจำกัดได้ ด้วยอำนาจของกฎหมาย เพราะฉะนั้นเมื่อมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแล้วไม่ใช่ว่าจะทำยังไงก็ได้ ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักปฎิญญาแห่งสิทธิมนุษยชน

2. ลักษณะสำคัญของกรรมสิทธิ์
กรรมสิทธิ์ มีลักษณะสำคัญอยู่ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
เป็นสิทธิเด็ดขาด (Absulute) เป็นอำนาจเด็ดขาด แต่ภายในบังคับขอบเขตของกฎหมาย
ลักษณะถาวร (Prepetual) ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้สิ้นสุดไปโดยกาลเวลาหรือโดยเจ้าของ
ไม่ได้ใช้ ส่วนทรัพย์สิทธิชนิดที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธินั้นถ้าก่อให้เกิดขึ้นโดยกำหนดเวลาไว้ อย่างมากจะมีอยู่ได้เพียง 30 ปีหรือมิฉะนั้นก็มีอยู่ได้เพียงชั่วชีวิตของผู้ทรงสิทธินั้นเช่น สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน
ลักษณะที่ถืออำนาจหวงกัน(Exclusive) คือสิทธิที่จะขัดขวางต่อการเกี่ยวข้องอันมิชอบของ
ผู้อื่น เว้นแต่จะตกอยู่ในบังคับขีดขั้นข้อจำกัดตามกฎหมาย

3. แนวคิดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในปัจจุบัน
Leon Duguit นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ไม่เห็นด้วยที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่เห็นว่ากรรมสิทธิ์จะต้องมีอยู่เนื่องจากหน้าที่ตามสังคมชนิดหนึ่ง(Social Function) คือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะใช้สอยเพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้นไม่ได้ จะต้องปฏิบัติตามภาระที่มีอยู่ในสังคมด้วย ดังนั้นเจ้าของจะต้องใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น หากไม่มีการใช้ประโยชน์และเพื่อประโยชน์สาธารณะแล้ว รัฐก็อาจจะเข้าไปแทรกแซงได้ ในขณะเดียวกันผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มีหน้าที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อสังคม
ดังนั้น สิทธิของผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงเป็นสิทธิที่ถูกจำกัดได้

4. วิเคราะห์ตามหลักกฎหมายแพ่งของไทย มาตรา 1336
หลักกฎหมายแพ่งมาตรา 1336 บัญญัติไว้สอดคล้องกับหลักสากลว่า “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สิน มีสิทธิใช้สอย และจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”
ลักษณะสำคัญของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯไทยมาตรา 1336 จึงมีดังนี้
ภายในบังคับบทบัญญัติของกฎหมาย
เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิ
สิทธิที่จะใช้
สิทธิที่จะจำหน่าย)
สิทธิที่จะได้ซึ่งดอกผล
สิทธิที่จะติดตามเอาคืน
สิทธิที่จะขัดขวางต่อการเกี่ยวข้องอันมิชอบ
การจำกัดสิทธิภายในบังคับบทบัญญัติของกฏหมาย
คำว่า “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย” คือข้อยกเว้นว่าสิทธิที่มีต้องถูกจำกัด การจำกัดสิทธิของผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้น ต้องกำหนดโดยกฎหมาย เพราะประเทศที่เป็นนิติรัฐนั้นทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย กฎหมายสูงสุดก็กฎหมายรัฐธรรมนูญ แล้วก็มีกฎหมายประกอบ และกฎหมายอื่นต่อมา ฉะนั้นสิทธิที่จะมีดังต่อไปนี้ก็จะมีการจำกัดได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่จะใช้ สิทธิที่จะจำหน่าย หรือสิทธิที่จะได้ดอกผล สิทธิที่จะติดตามเอาคืน หรือสิทธิที่จะขัดขวางต่อการเกี่ยวข้องอันมีชอบด้วยกฎหมาย ก็ตาม ในส่วนของการแทรกแซงของรัฐต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะและอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น
เหตุที่สิทธิหรืออำนาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์ถูกจำกัด โดยทั่วไป มี 2 ประการคือ
1. โดยนิติกรรม ซึ่งหมายถึง ข้อตกลงในสัญญาของคู่สัญญา ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา (Autonomy of Will) และ หลักเสรีภาพในการทำสัญญา (Freedom of Contract)
2. โดยผลของกฏหมาย
2.1 เพื่อประโยชน์สาธารณะ ( Public interest ) เช่น การเวนคืนที่ดิน
2.2 เพื่อมาตรการในการลงโทษ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (โดยหลักอายุความ) เช่น การครอบครองปรปักษ์ เพื่อเป็นการจำกัดสิทธิถาวร อันเนื่องมาจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ รัฐจึงต้องออกกฎหมายมาจำกัดสิทธิถาวร หากเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ใช้ประโยชน์ และมีผู้เข้ามาครอบครองปรปักษ์ สิทธิอันถาวรก็จะหมดไป เป็นต้น


เป็นการจัดทำแนวคำตอบ โดยการเก็งข้อสอบจากที่อาจารย์บอก เพื่อใช้เป็นแนวทางประกอบในการหัดทำข้อสอบของผู้เขียน ขอให้ผู้ที่จะนำไปใช้ได้โปรดใช้วิจารณญาณในการนำไปใช้ แนวคำตอบนี้อาจจะมีส่วนที่บกพร่องบ้าง หรืออาจมีส่วนที่ผิดบ้าง ขอให้ผู้ที่จะนำไปใช้ได้โปรดนำไปแก้ไขเพิ่มเติมเอง หรือถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกใจขอให้ท่านได้โปรดอย่าได้นำไปใช้

สุรศักดิ์ กัลยาธิ
ฝ่ายวิชาการ

Take Home Exam อาจารย์กัลยาและอาจารย์พิมพ์ใจ

สัญญา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ สัญญาหมายถึง ความตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายว่าจะกระทำ หรือละเว้นการใดอย่างหนึ่ง ,ข้อตกลง,คำมั่น,ความตกลงกัน

ท่าน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช สัญญาหมายถึง ความตกลงที่ก่อให้เกิดหนี้ สาระสำคัญของสัญญามี ๒ ประการคือ ความตกลง (Agreement) และ หนี้ (Obligation) สาระสำคัญทั้งสองประการนี้ต้องอยู่ประกอบกัน จึงเกิดสัญญาขึ้นเป็นสัญญา

กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สัญญาหมายถึง ความยินยอมทั้งสองฝ่าย ฤามากกว่า ๒ ฝ่าย ในการจำทำ ฤาละเว้นทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ สัญญาหมายถึง สัญญาจะเกิดได้ต้องมีการแสดงเจตนาของบุคคลสองฝ่าย ซึ่งมีเนื้อหาถูกต้องตรงกัน คือ ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำเสนอถูกต้องตรงกับคำเสนอนั้น สัญญาจึงเกิด (ดังนั้นสัญญาจึงเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่นิติกรรมไม่จำป็นต้องเป็นสัญญาเสมอไป)
ศาสตราจารย์จี๊ด เศรษฐบุตร สัญญาหมายถึงนิติกรรมหลายฝ่าย เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ดังนั้นสัญญาจึงเป็นนิติกรรมประเภทหนึ่ง แต่เป็นประเภทที่สำคัญ เพราะก่อหนี้มากกว่านิติกรรมประเภทที่เรียกว่า นิติกรรมฝ่ายเดียว

ความสัมพันธ์ต่าง ๆ จะอยู่ในรูปของแบบของ นิติกรรม คือ เรื่องสัญญาและนิติเหตุ คือ เรื่องของละเมิด สุดท้ายผลของกฎหมาย คือ เรื่องของทรัพย์
สัญญาทางแพ่ง ตามกฎหมายแพ่ง (Civil Law) ประกอบด้วย

๑.การเกิดสิทธิ การเกิดโดยสองประเภท กล่าวคือ โดยกฎหมาย คือ ทรัพยสิทธิ และโดยนิติกรรม คือ บุคคลสิทธิ
๒.การได้มาซึ่งสิทธิ การได้มาซึ่งสิทธิมีสามประเภท กล่าวคือการได้มาซึ่งสิทธิโดยนิติกรรม เช่น การหมั้น การสมรส การเช่า การเช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ ซื้อขาย แลกเปลี่ย ให้ และการได้สิทธิโดยนิติเหตุ เช่น ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ สุดท้ายการได้สิทธิมาโดยผลของกฎหมาย เช่น บุตร สามี ภริยา (สถานะ) กรรมสิทธิ์ ส่วนควบ มรดก ครอบครองปรปักษ์

สัญญาทางพาณิชย์ เป็นเรื่องของกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน กล่าวถึง สถานะบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย และ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิทางแพ่ง รวมถึงเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าประชาชนด้,วยกันเอง เช่น เอกเทศสัญญาต่าง ๆ (กฎหมายพาณิชย์ บรรพ ๓)

กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างบุคคล บุคคลธรรมดา นิติบุคคล อย่างเช่นกฎหมายไทยในบรรพ ๓ หลักความสัมพันธ์นี้หวังผลกำไร
สัญญาทางธุรกิจ การแสวงหากำไร การพาณชย์ (Commercial) การอุตสาหกรรม (Industrial) การเกษตร ปศุสัตว์ การบริการ(Service)
แนวคิดทฤษฎีในการทำสัญญา มีอยู่ด้วยกัน ๒ ปรัชญญา กล่าวคือ
ปรัชญญากฎหมายเอกชน คือ เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามย่อมทำได้ สำหรับอีกปรัชญญาหนึ่งนั้นเป็นปรัชญากฎหมายแพ่งสากล ไม่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน หลักนี้ปรากฏอยู่ในคำประกาศสิทธิมนุษยชน และพลเมืองฝรั่งเศล มาตรา ๕ “กฎหมายมีสิทธิห้ามการกระทำก็แต่เฉพาะที่เป็นการกระทำให้สังคมเดือดร้อน สิ่งที่กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ย่อมทำได้และบุคคลไม่อาจถูกบังคับให้กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้สั่งให้ กระทำ” ดังนั้นหลักกฎหมายเอกชน ปัเจกชนก่อนิติสัมพันธ์กันอย่างไรก็ได้ เว้นแต่จะขัดกับกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ได้
ทฤษฏีเกี่ยวกับความศักดิ์ของเจตนา คือ ถือเอาเจตนาภายในที่เกิดและผลของสัญญาขึ้นอยู่กับเจตนาที่คู่สัญญามีอยู่โดยแท้จริงภายใน
ทฤษฏีเกี่ยวกับเสรีภาพในการทำสัญญา คือบุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการทำสัญญาโดยปราศจากการถูกข่มขู่ บังคับ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หลักเกณฑ์ความสมบูรณ์ของสัญญา ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของความสมบูรณ์ของสัญญา ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ เจตนา และ แบบของสัญญา สำหรับเรื่องของความสามรถนั้น เรื่องของคนหย่อนความสามารถ หมายถึง ผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนไร้ความสามารถเช่น คนปัญญาอ่อน คนวิกลจริต

ตามหลักเกณฑ์ของความสมบูรณ์ของสัญญาไทย ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ การแสดงเจตนา(ความยินยอม) และแบบ
หลักเกณฑ์ที่สำคัญของสัญญา ตามกฎหมายไทย ฝรั่งเศล อังกฤษ ประกอบด้วย ความตกลงยินยอมของคู่สัญญา ความสามารถในการทำสัญญา วัตถุประสงค์ที่แน่นอนอันเป็นสาระสำคัญของสัญญา และการแสดงเจตนาเข้าผูกพันทำสัญญาที่ถูกต้อง
ผลบังคับตามสัญญา การใช้ การตีความ การอุดช่องว่าง สำหรับการใช้กฎหมายของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) ในการใช้การตีความกฎหมายแม้จะเป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) ก็มิใช่ว่าจะยึดติดแต่ตัวอักษรแต่ดูไม่ถึงเจตนาของกฎหมาย ทำให้ผลในบางครั้งไม่เป็นการแก้ปัญหาสังคม

ความเหมือนสัญญาทางแพ่ง ทางพาณิชย์ ทางธุระกิจ คือก็เป็นเรื่องของการแสวงหากำไรเช่นเดียวกัน สำหรับความแตกต่างกันสัญญาทางแพ่ง ทางพาณิชย์ ทางธุระกิจ การจะดูว่าเป็นแพ่งหรือพาณิชย์ สังเกต จากกำหนดความแตกต่างโดยรูปแบบของสัญญา เช่น สัญญาคู่,รูปแบบของกิจการ (ควบคุมโดยการจดทะเบียน) และดูวัตถุประสงค์ของคูสัญญาในการทำสัญญา (ดูจากพฤติกรรมของผู้ทำสัญญาเป็นสำคัญ) อย่างไรก็ตามของไทยเรายังไม่มีกรอบจากบทบัญญัติของกฎหมายที่ชัดเจน คงดูเป็นเรื่องๆ
ข้อ ๒. นายไก่อายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทยโดยการสมรส
ข้อ ๒.๑.ทำสัญญาซื้อที่ดิน ๑ แปลง จากนายไข่ในราคา ๑๐๐ ล้านบาท
ตามหลักเกณฑ์ที่สำคัญตามกฎหมายไทย ฝรั่งเศล อังกฤษ ประกอบด้วย ๑).ความตกลงยินยอมของคู่สัญญา ๒).ความสามารถในการทำสัญญา (Capacity) ๓).วัตถุประสงค์ที่แน่นอนอันเป็นสาระสำคัญของสัญญา ๔).การแสดงเจตนาเข้าผูกพันทำสัญญาที่ถูกต้อง
ตามหลักเกณฑ์ที่สำคัญตามกฎหมายไทย ข้างต้นได้วางหลักไว้ กรณีตามปัญหาเรื่องนายไก่นั้น แม้จะมีอายุเพียง ๑๗ ปีบริบูรณ์ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าได้สมรสแล้วฉะนั้นย่อมบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทยโดยการสมรส ดังนั้นการทำสัญญาซื้อที่ดิน ๑ แปลง จากนายไข่ในราคา ๑๐๐ ล้านบาท เกิดขึ้นด้วยความตกลงยินยอมของคู่สัญญา และนายไก่ก็มีความสามารถในการทำสัญญา (Capacity) นอกจากนี้วัตถุประสงค์ที่แน่นอนอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาในเรื่องของการซื้อที่ดินสุดท้าย การแสดงเจตนาเข้าผูกพันทำสัญญาที่ถูกต้อง
ฉะนั้นดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น ผลของการทำสัญญาซื้อที่ดิน ๑ แปลง จากนายไข่ในราคา ๑๐๐ ล้านบาท ย่อมสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่สำคัญตามกฎหมายไทย

ข้อ ๒.๒. ทำสัญญากับนางสาวบุญส่ง ให้ตั้งครรภ์แทนภริยาตน(เด็กหลอดแก้ว)
ตามหลักเกณฑ์ที่สำคัญตามกฎหมายไทย ได้วางหลักไว้ในข้อ ๒.๑. ข้างต้น กรณีตามปัญหาเรื่องการทำสัญญากับนางสาวบุญส่ง ให้ตั้งครรภ์แทนภริยาของตนนั้น นายไก่ บรรลุนิติภาวะจึงมีความสามารถในการทำสัญญาซึ่งสัญญาได้เกิดด้วยความตกลงยินยอมของคู่สัญญาและการแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาที่ถูกต้อง แต่เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าวัตถุประสงค์ในการทำสัญญาเรื่องการตั้งครรภ์แทนภริยาตน(เด็กหลอดแก้ว) อันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาว่าด้วยหลักเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา ๑๕๐)
ฉะนั้นดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น การทำสัญญากับนางสาวบุญส่ง ให้ตั้งครรภ์แทนภริยาตน(เด็กหลอดแก้ว) จึงตกเป็นโมฆะ
ข้อ ๒.๓.ถ้าการขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นการติดต่อกันทางจดหมาย และนายไก่อายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ เมื่อนายไก่ได้ส่งจดหมายตกลงซื้อให้แก่นายไข่ไปทางไปรษณีย์แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่จะเกิดขึ้นเมื่อใดตามหลักกฎหมาย
ทฤษฏีเกี่ยวกับความศักดิ์ของเจตนา คือ ถือเอาเจตนาภายในที่เกิดและผลของสัญญาขึ้นอยู่กับเจตนาที่คู่สัญญามีอยู่โดยแท้จริงภายใน
ทฤษฏีเกี่ยวกับเสรีภาพในการทำสัญญา คือบุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการทำสัญญาโดยปราศจากการถูกข่มขู่ บังคับ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หลักเกณฑ์ความสมบูรณ์ของสัญญา ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของความสมบูรณ์ของสัญญา ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ เจตนา และ แบบของสัญญา สำหรับเรื่องของความสามรถนั้น เรื่องของคนหย่อนความสามารถ หมายถึง ผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนไร้ความสามารถเช่น คนปัญญาอ่อน คนวิกลจริต

ตามหลักเกณฑ์ของความสมบูรณ์ของสัญญาไทย ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ การแสดงเจตนา(ความยินยอม) และแบบ
กรณีตามหลักกฎหมายไทย ว่าด้วยลักเกณฑ์ของความสมบูรณ์ของสัญญาไทย ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ การแสดงเจตนา(ความยินยอม) และแบบสัญญาย่อมสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่านายไก่ได้ส่งจดหมายตกลงซื้อขายไปยังนายไข่เพื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินทางไปรษณีย์ ดังนั้นเมื่อสัญญาซึ่งนายไข่ย่อมเป็นการเสนอขึ้นและเมื่อใดที่นายไข่ได้ตอบตกลงและได้ส่งจดหมายตอบตกลงทางไปรษณีย์กลับมาที่นายไก่ ก็เป็นการตกลงทำสัญญา แม้นายไก่ยังไม่ได้อ่านคำสนองกลับมาแต่อย่างไรก็ถือได้ว่าสัญญาได้เกิดขึ้นอันเป็นสัญญาห่างกันโดยระยะทาง

กรณีตาม หลักกฎหมายอังกฤษ ฝรั่งเศล และเยอรมัน ว่าด้วยลักเกณฑ์ของความสมบูรณ์ของสัญญาทั่วไป ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ การแสดงเจตนา(ความยินยอม) และแบบสัญญาย่อมสมบูรณ์ ความสามารถเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายไก่ ซึ่งได้ส่งจดหมายตกลงซื้อขายไปยังนายไข่เพื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินทางไปรษณีย์ ดังนั้นเมื่อสัญญาซึ่งนายไข่ย่อมเป็นการเสนอขึ้นและเมื่อใดที่นายไข่ได้ตอบตกลงและได้ส่งจดหมายตอบตกลงทางไปรษณีย์กลับมาที่นายไก่ ก็เป็นการตกลงทำสัญญา แม้นายไก่ยังไม่ได้อ่านคำสนองกลับมาแต่อย่างไรก็ถือได้ว่าสัญญาได้เกิดขึ้นอันเป็นสัญญาห่างกันโดยระยะทาง
ฉะนั้นดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นการขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นการติดต่อกันทางจดหมาย และนายไก่อายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ เมื่อนายไก่ได้ส่งจดหมายตกลงซื้อให้แก่นายไข่ไปทางไปรษณีย์แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่จะเกิดขึ้นเมื่อใดตามหลักกฎหมายหลักกฎหมายอังกฤษ ฝรั่งเศล และเยอรมัน เกิดขึ้นตั้งแต่นายไข่ได้แสดงเจตนาในการทำสัญญาแล้วหลักทฤษฏีเกี่ยวกับความศักดิ์ของเจตนา และทฤษฏีเกี่ยวกับเสรีภาพในการทำสัญญา

เรียบเรียงโดย
นางสาวอาทิตยา วชิรบูรณ์สุข
เลขประตัวนักศึกษา๕๐๒๔๐๑๓๘๒๙